ภารกิจส่วนงาน

ภารกิจของส่วนงาน/หน่วยงาน
สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่ออธิการบดี
1. ภารกิจหลัก มีภาระหน้าที่ในการดำเนินงานด้านการบริหารการเงิน การจัดทำบัญชีและรายงานการเงินของมหาวิทยาลัยตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป การดำเนินการด้านการจัดหาพัสดุ และการบริหารพัสดุของมหาวิทยาลัย การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของสำนักบริหาร และศูนย์ระดับฝ่ายในสำนักงานมหาวิทยาลัยที่ขึ้นตรงต่ออธิการบดี ตลอดจนการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการดำเนินงานในความรับผิดชอบ รวมทั้งการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย
2. กลุ่มภารกิจขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการสำนัก ได้แก่
(1) กลุ่มภารกิจบริการด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ
รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนาและวางระบบการให้บริการร่วม (Shared Service) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการบัญชี การเงิน และการพัสดุแก่หน่วยงานและส่วนงานในมหาวิทยาลัย การกำหนดระดับการให้บริการ (SLA) การพัฒนาข้อตกลงความร่วมมือ ประสานงาน จัดหา และจัดให้มีการยกระดับการให้บริการหรือการให้บริการเพิ่มเติมอื่นใดเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ โดยอาจทำความร่วมมือกับองค์กรภายนอก รวมทั้ง การอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
สนับสนุนการปฏิบัติงาน
1.1 กำหนดนโยบายวัตถุประสงค์ ภารกิจ และสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน การแบ่งแยกหน้าที่และมอบหมายภาระงาน เพื่อให้มีระบบควบคุมที่เหมาะสม
1.2 เสนอของบประมาณเพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการบริหารจัดการ และกำหนด เป้าหมาย ตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน ในระดับฝ่ายและระดับบุคลากร โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อให้มีกระบวนการกำกับดูแล ที่ดี มีการบันทึกข้อมูลในระบบ CU-HR และระบบงานของฝ่ายงบประมาณ
1.3 บริหารเงินยืมรองจ่ายในแต่ละฝ่าย ตลอดจนเงินยืมรองจ่ายสำหรับสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลของมหาวิทยาลัย
1.4 บริหารงานบุคคล การรับสมัคร การคัดเลือก การบรรจุบุคลากร การมอบหมายภาระงาน การประเมินผลการทดลองงาน ประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินผลการต่อสัญญาจ้าง การเสนอปรับระดับตำแหน่ง การจัดทำเอกสารต่าง ๆ เสนอคณะกรรมการบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัย
1.5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถตรงตามภาระหน้าที่ มีความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ
1.6 พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้
1.7 ดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันของหลายหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนให้มีสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ดี เป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างต่อเนื่อง จัดทำระบบบริหารเอกสารให้ เป็นหมวดหมู่ สะดวกในการค้นหาข้อมูล
1.8 จัดทำ Web site และ การ Share drive เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจ การปฏิบัติงานไปทิศทางเดียวกัน
1.9 เตรียมเอกสารประกอบการประชุมชุดต่าง ๆ ภายในและระหว่างสำนัก การจัดการประชุมและประสานงานตามภาระงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
1.10 รวบรวม จัดหมวดหมู่ การจัดเก็บและเผยแพร่ข้อบังคับ ระเบียบ หนังสือเวียนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย
1.11 พัฒนา ทบทวน ปรับปรุงแก้ไขคู่มือและเอกสารประกันคุณภาพ การตรวจติดตามผลปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด
1.12 บันทึกข้อมูลในระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงาน การขาดลามาสาย แผนและผลข้อตกลงการจัดทำผลผลิต (Service delivery agreement : SDA) ทุกไตรมาส หนังสือเข้า-ออก ฯลฯ
สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์
1.1 วิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรระดับหัวหน้างาน และการวางแผนอัตรากำลังให้เหมาะสมกับ ภาระงาน
1.2 พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ เข้าสู่อัตรากำลังทดแทนบุคลกรในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการฝ่าย
1.3 วางแผนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยและส่วนงานที่มีศักยภาพในการเป็นผู้บริหารระดับสูงด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ
1.4 พัฒนาระบบงาน คู่มือ แนวปฏิบัติเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วยงานโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง
1.5 สร้างจิตสำนึกและความภูมิใจในการเป็นเจ้าของผลงาน และการฝ่าฟันอุปสรรคและแก้ปัญหาด้วยความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถในแต่ละวิชาชีพ มีระบบการคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับความก้าวหน้าในวิชาชีพ