ฝ่ายการพัสดุ

ภารกิจของฝ่ายการพัสดุ
รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการพัสดุของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง คุ้มค่า โปร่งใส และพร้อมรับการตรวจสอบ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การติดตาม และให้คำปรึกษา และแนะนำหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ในการดำเนินการทางพัสดุ ตลอดจนดำเนินการทางพัสดุให้กับสำนักบริหารและศูนย์ระดับฝ่ายในสำนักงานมหาวิทยาลัยที่ขึ้นตรงต่ออธิการบดี รวมทั้งการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
โครงสร้างองค์กรฝ่ายการพัสดุ
ฝ่ายการพัสดุ มีภารกิจในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ดำเนินการทางพัสดุให้กับสำนักบริหาร และศูนย์ขึ้นตรงต่าง ๆในสำนักงานมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินรายได้จากกองทุนของมหาวิทยาลัย ให้ถูกต้องตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัย
2. เร่งรัดติดตามการดำเนินการจัดหา
3. บริหารสัญญา ตรวจสอบเอกสารการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การขยายระยะเวลาการ ส่งมอบพัสดุ การสั่งงดลดค่าปรับ การบอกเลิกสัญญา ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ความเห็นประกอบการสั่งการของอธิการบดี
4. เข้าเป็นกรรมการการจัดหาและกรรมการตรวจรับพัสดุ เพื่อสนับสนุนให้กรรมการทุกชุดปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
5. ควบคุมและจำหน่ายพัสดุ การจัดทำทะเบียนพัสดุ การตั้งกรรมการตรวจนับพัสดุประจำปี การตรวจสอบหาข้อเท็จจริง การจำหน่ายพัสดุ การบันทึกรายการรับจ่ายพัสดุเป็นปัจจุบัน เพื่อให้พัสดุมีจำนวนถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีพัสดุ
6. กำหนดมาตรฐาน แนวปฏิบัติงาน การพัฒนางาน และการติดตามผลงานด้านการพัสดุของสำนักบริหารให้มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาทันท่วงที และมีการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม
7. เสนอคู่มือการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์ และวิธีการอันจำเป็นเกี่ยวกับการพัสดุแก่คณะกรรมการการพัสดุของมหาวิทยาลัย
8. ประสานงาน การเป็นวิทยากร การให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา การสอนงานด้านการพัสดุให้แก่ส่วนงานและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย
9. ประสานงานกับสำนักงบประมาณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในการส่งเอกสารการจัดจ้างก่อสร้างอาคาร การดำเนินการในกระบวนการจัดหา ฯลฯ
10. บันทึกข้อมูลในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง และนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กำหนด
กิจกรรมหลักในฝ่ายการพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มภารกิจ ซึ่งรับผิดชอบงานตามที่อธิการบดีกำหนด ประกอบด้วย กลุ่มภารกิจจัดหาพัสดุ 1 กลุ่มภารกิจจัดหาพัสดุ 2 และกลุ่มภารกิจทะเบียนและตรวจสอบพัสดุ โดยในแต่ละกลุ่มภารกิจมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
กลุ่มภารกิจจัดหาพัสดุ 1
ทำหน้าที่ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดประสิทธิภาพและบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง บันทึกข้อมูลในระบบ CU-ERP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กำหนด
  • วิเคราะห์ความต้องการใช้พัสดุ ประกอบด้วย วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร และการจ้างเหมาบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่ายงานที่ตั้งขึ้นใหม่ และหน่วยงานที่กลับเข้ามาอยู่ภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย
  • กำหนดแผนการจัดหาพัสดุ
  • กำหนดมาตรฐานพัสดุ และตรวจสอบราคากลางในการจัดหาพัสดุ
  • การประกาศเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ.2560 และตามระเบียบ ข้อกำหนด หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำสัญญาและหลักประกันสัญญา
  • ให้ความเห็นประกอบการจัดหา
  • ให้ข้อมูลหรือคำปรึกษาด้านการจัดหาพัสดุ เช่น ข้อมูลวิธีการจัดหา ราคามาตรฐานพัสดุ และ ราคากลาง ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
  • ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจระเบียบที่เกี่ยวข้อง การเสนอคู่มือ แนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์และข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการการพัสดุของมหาวิทยาลัย
  • ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางาน
กลุ่มภารกิจจัดหาพัสดุ 2
บริหารสัญญา ตรวจสอบเอกสารการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การขยายระยะเวลาการส่งมอบพัสดุ การสั่งงดลดค่าปรับ การบอกเลิกสัญญา ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง บันทึกข้อมูลในระบบ CU-ERP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บริหารสัญญา
  • ประสานงานการก่อสร้างอาคาร การปรับปรุงอาคารในเขตการศึกษาและเครือข่ายภูมิภาค
  • การเสนองดค่าปรับ การขยายเวลา การยกเลิกสัญญา
  • แจ้งการดำเนินการลงโทษผู้ทิ้งงาน
  • ตรวจรับและส่งมอบพัสดุให้หน่วยงาน
  • ประสานงานเพื่อแก้ไขความชำรุดบกพร่อง
  • ให้คำปรึกษา การเผยแพร่ความรู้ การเป็นวิทยากร การสอนงานด้านการบริหารสัญญาให้แก่บุคลากร ส่วนงานและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย
  • ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจระเบียบที่เกี่ยวข้อง การเสนอคู่มือ แนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์และข้อมูลประกอบการพิจารณาในด้านการบริหารสัญญาของคณะกรรมการการพัสดุของมหาวิทยาลัย
  • ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนางาน
กลุ่มภารกิจทะเบียนและตรวจสอบพัสดุ
ทำหน้าที่ด้านการเก็บรักษา ควบคุมและจำหน่ายพัสดุ จัดทำทะเบียนบัญชีต่าง ๆ การตรวจสอบพัสดุ และบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง บันทึกข้อมูลในระบบ CU-ERP ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทำบัญชีเบิกจ่ายวัสดุ และการคำนวณต้นทุนของพัสดุ
  • บริหารคลังพัสดุ
  • จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และข้อมูลค่าเสื่อมราคา
  • จัดทำทะเบียนค้ำประกันสัญญา
  • จัดทำทะเบียนคุมสัญญา
  • จำหน่ายพัสดุให้เป็นไปตามระเบียบ
  • จัดให้มีทะเบียนควบคุมสินทรัพย์ และการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ เพื่อควบคุมพัสดุ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี และรวบรวมเสนอรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี
  • จัดทำรายงานด้านการพัสดุ เพื่อเสนอไปยังหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • บริหารการใช้จ่ายเงินสดย่อยหมุนเวียนภายในฝ่ายการพัสดุ
  • การสนับสนุนภาระงานด้านบรรณสารภายในฝ่ายการพัสดุ